ค้นหาประกาศ

ลักษณะเพิ่มเติม
       
ผลตอบแทน ดอกเบี้ยสูง

อยากได้ผลตอบแทน ดอกเบี้ยสูง อาจเสียหายได้

 

 

ต้องระวังอาจผิดกฎหมาย และต้องสูญเสียเงิน เป็นคดีเกี่ยวกับการถูกหลอกให้ลงทุนเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ตอบแทนในอัตราสูง  ผู้เสียหายหลงเชื่อจึงนำเงินไปลงทุน ซึ่งดอกเบี้ยสูงเป็นดอกเบี้ยต้องห้ามตามกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 เมื่อทราบว่าดอกเบี้ยสูงเกินกฎหมายบัญญัติว่า แม้จะเป็นผู้เสียหาย" ก็มิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีในความผิดฉ้อโกงได้"

 

หมายถึง ไม่สามารถเรียกเงินที่ร่วมลงทุน คืนได้ 

 

ทั้งนี้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 282/2563 

 

 วินิจฉัยว่า “ .......... แม้ผู้เสียหายทั้งสามสิบสองจะหลงเชื่อคำหลอกลวงของจำเลยทั้งสามจึงมอบเงินให้แก่จำเลยทั้งสามเพื่อให้จำเลยทั้งสามนำเงินไปลงทุนเพื่อให้ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนในอัตราที่สูงโดยจ่ายค่าตอบแทนแก่ผู้เข้าร่วมลงทุนในหลายลักษณะคิดเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 72 , 144 , 192 ,240,288 และ 432 ต่อปี ของจำนวนเงินที่ผู้ร่วมทุนให้จำเลยทั้งสามกู้ยืมจะมีการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนในทุก 2 ถึง 3 วันหรือทุกสัปดาห์หรือทุกเดือน ซึ่งผลตอบแทนที่ผู้เสียหายทั้งสามสิบสองจะได้รับล้วนต้องห้ามตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475มาตรา 3 พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 มาตรา 4(1) ประกอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 ถือว่า เป็นกิจการที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามตามกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แสดงให้เห็นว่าผู้เสียหายทั้งสามสิบสองรับข้อเสนอดังกล่าวโดยมีเจตนาร้ายมุ่งประสงค์ต่อผลประโยชน์อันเกิดจากการกระทำที่ผิดกฎหมาย ผู้เสียหายทั้งสามสิบสองจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะมีสิทธิร้องทุกข์ขอให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสามในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวนคดีนี้ และพนักงานอัยการย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาควาอาญา มาตรา 2(4)(7) และมาตรา 120 ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง มานั้นชอบแล้ว

พิพากษายืน ( ศาลฎีกายกฟ้องฐาน ร่วมกันฉ้อโกง เหมือนกับศาลอุทธรณ์)

 

สรุปว่าผู้ลงทุนสูญเงิน เนื่องจากศาลยกฟ้องในคดีฉ้อโกง เพราะผู้เสียหายรับข้อเสนอเรื่องอัตราดอกเบี้ยแพงกว่ากฎหมายจึงถือว่ามีเจตนาร้าย จึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะมีสิทธิ์ร้องทุกข์ตามกฎหมายให้ลงโทษจำเลยในความผิดฉ้อโกงได้ เมื่อตำรวจรับแจ้งความกล่าวโทษร้องทุกข์ไว้จึงขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาควาอาญา มาตรา 2(4)(7) และมาตรา 120 เมื่อไปแจ้งความ พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวนคดีนี้ และพนักงานอัยการย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง

 

แต่ผู้ที่กระทำผิดติดคุกในความผิดอันความผิดฐาน “ ร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน” ตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 ตามมาตรา 4 โทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปีถึง 10ปี และปรับตั้งแต่ 5 แสนบาทถึง1 ล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 10,000 บาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่ 

 

 

# ปรึกษาปัญหากฎหมาย หรือจ้างว่าความคดีแพ่ง อาญา ปกครอง

 

 ติดต่อ  ทนายณัฐปวิญ์ (ปีเตอร์)  คงเกียติภาคิน โทรและไลน์  081 952 5875

 

สำนักงานทนายความคงเกียรติภาคิน  E-mail : peterlawpattaya@gmail.com

 

 

เปิด 10.00 น. - 18.00 น. จันทร์ - เสาร์ | Office hours 10.00 am - 6.00 pm MON - SAT

Copyright © 2014 www.GoodPattaya.com อสังหาริมทรัพย์สำหรับเช่า และ ขาย ในพัทยา นาเกลือ จอมเทียน บ้านอำเภอ บางเสร่ ศรีราชา จ.ชลบุรี ประเทศไทย